Back Ground : ประวัติความเป็นมา


Original Tree
ความเป็นมาแห่งเรา....

2021-07-23 14:32:23


กลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนตำบลน้ำอ้อม(ชื่อเดิม) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 จากกระบวนการเรียนรู้ตามโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้ภาคีความร่วมมือ3ฝ่าย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มูลนิธิหมู่บ้าน องค์กรการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ( UNDP) โดยมีเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนจำนวน 37 ตำบล 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร จากกระบวนการเรียนรู้นี้กระตุ้นให้เกิดให้เกิดผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ได้มีโอกาสพบปะกับโลกภายนอก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนจังหวัดยโสธรเองจากเมื่อก่อนที่ผู้นำหมู่บ้านไม่เคยรู้ ไม่สนใจ ไม่มีข้อมูลหมู่บ้านของตนเอง ข้อมูลส่วนใหญ่อยู่กับทางอำเภอแผนงานส่วนใหญ่ก็เป็นการทำจากส่วนบน จากส่วนบนสู่ล่าง จากโครงการนี้ทำให้ผู้นำได้มีโอกาสเรียนรู้ชุมชนตำบลของตนเอง นับจากอดีต ถึงปัจจุบัน วางแผนแก้ไข
     ปัญหาสู่อนาคตที่ดีของชุมชน เป็นครั้งแรกที่ผู้นำทุกตำบลได้นำข้อมูลของหมู่บ้านตนเองมา นำเสนอ ทั้งในด้าน บวก ด้านลบ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผู้นำรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ ในการที่มีแนวคิดในการที่จะปรับแปลงวิธีคิดแบบใหม่ๆ จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ขยายผลให้กับผู้นำชุมชน บนพื้นฐานแนวคิดการพึ่งตนเอง การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ จนนำไปสู่การแก้ไขปัญญาของชุมชนเอง โดยใช้กระบวนการแผนแม่บทชุมชนมาเป็นเครื่องมือในการแยก การจัดระเบียบ ข้อมูลชุมชนซึ่งเป็นหัวใจของการวางแผนแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนตนเอง “ปัญหาของชุมชน คนในชุมชนเท่านั้นที่รู้ และคนในชุมชนเท่านั้นที่จะต้องเป็นคนแก้ไข”
     คือ จุดเริ่มต้นก่อเกิดกิจกรรมของกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนตำบลน้ำอ้อม คือ การค้นพบว่าศักยภาพที่แท้จริงของตำบลน้ำอ้อมที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับทุ่งกุลาร้องไห้ พื้นที่กว่า20,000 ไร่ทำให้เกิดแนวคิดในการที่จะพัฒนาพื้นที่จาก กิจกรรมการพึ่งตนเองของกลุ่มคนทำนาโดยมีจุดประสงค์ที่จะ ในการลดต้นทุนการผลิตโดยได้ลงหุ้นร่วมกันของทั้ง 12 หมู่บ้านในการที่จะทำโครงการนำร่องสองปีก่อน คือ โครงการไถกลบตอซังข้าวจำนวนเงิน 12,000บาท กรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนกิจกรมจำนวน 50,000 รวมเป็นกองทุนเพื่อไถกลบตอซังข้าวรวมทั้งสิ้น62,000 บาท มีเป้าเพิ่มพื้นที่การไถกลบเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว 1,200 ไร่ สมาชิกเริ่มต้น 204 รายได้คัดเลือกคณะกรรมการบริหารชุดแรกในการบริหารจำนวน 7คนดังต่อไปนี้
ลำดับ. ชื่อ สกุล ตำแหน่ง
คณะกรรมการบริหารชุดแรก
1. นายคำนึง มณีบูรณ์ ประธาน
2. นายสมหมาย พันธ์งาม รองประธาน(เสียชีวิตแล้ว)
3. นายสุวรรณ สิมมา รองประธาน
4. นายบุญยืน อาจอาษา เหรัญญิก
5. นายทองดี ศรีสว่าง เหรัญญิก
6. นายณรงค์ สุนทรธรรม เหรัญญิก
7. นายสุทิน จันทะสิงห์ เลขานุการ

     ที่ปรึกษากลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนตำบลน้ำอ้อม.
ลำดับ. ชื่อ สกุล ตำแหน่ง
ที่ปรึกษา
1. นายประภาส สุทธิอาคาร รองผอ.สสวช.
2. นายพิชิต กลิ่นรื่น ครูโรงเรียนบ้านโพนแบง
3. นายสุริยนต์ คำลอย นักวิชาการเกษตรตำบลน้ำอ้อม
4. นายทองสา นามแก้ว ครูโรงเรียนบ้านศิริพัฒนา
5. นายประยูร ทองบ่อ หจก.ยโสธรศุภนิมิต.
6. นายณรงค์ สุนทรธรรม เหรัญญิก

Read more
...
...

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลน้ำอ้อม มาจากผลจากการจัดกระบวนการเรียนรู้และแนวคิดที่ว่ารู้จักตนเอง รู้จักคนอื่น รู้เท่าทัน ก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกันในการที่จะร่วมกันวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้ง12 หมู่บ้าน โดยได้ร่วมกันเลือกตั้งคณะกรรมการพัฒนาตำบล เป็นสภาผู้นำชุมชนตำบลน้ำอ้อมจำนวน 60 คน(หมู่ละ 5 คน) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีสถานที่ในการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดของผู้นำชุมชน และเก็บรวบรวม ข้อมูลองค์กรชุม แรกๆก็มีการขอใช้สถานที่ของสภา อบต.น้ำอ้อม ศาลาวัด เป็นที่ประชุมแต่เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวจำเป็นจะต้องใช้ในการประชุมสภา(ศาลาอิสานเขียว) จึงได้มีการขอใช้ศาลาวัดสถานีอนามัยเป็นที่ที่จะพบปะ ปรึกษาหารือของสภาผู้นำชุมชน เมื่อสภา อบต.น้ำอ้อมได้ยกฐานะเป็นสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำอ้อม และได้ย้ายที่ทำการใหม่ ก่อสร้างเป็นสถานที่กว้างขวาง จึงทำให้สถานที่ดังกล่าวว่างลงทางกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนตำบลน้ำอ้อมจึงได้ทำหนังสือขอใช้สถานที่ เป็นที่ทำการกลุ่มปี พ.ศ.2546 ให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานของกลุ่มองค์กรชุมชนระดับตำบล/เครือข่ายกำหนดเป็นบทบาทหน้าที่ของศูนย์เรียนรู้ไว้ดังต่อไปนี้
     จากการเรียงลำดับของกิจกรรมนำไปสู่การพัฒนา ก่อตั้งกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ตำบลน้ำอ้อม ที่เป็นกิจกรรมที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ถึงศักยภาพของพื้นของตำบลน้ำอ้อมที่มีพื้นที่เฉลี่ยครอบครัวละกว่า 24 ไร่/ครัวเรือนซึ่งเป็นมีอาชีพหลักคือการทำนาปลูกข้าวอย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 98 ของประชาชนทั้งตำบลโดยได้นำกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องมาพัฒนาต่อ มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการจำนวน 204 ครอบครัวพื้นที่ 2750 ไร่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการร่วม 12 หมู่บ้านจำนวน 22 คน โดยมีนายสมหมาย พันธุ์งามเป็นประธานกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ตำบลน้ำอ้อมคนแรก และได้ขอรับการตรวจรับรองแปลงปลูกข้าวมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จากสถาบันรับรองเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป หรือ สถาบัน BCS ประเทศเยอรมันนี(/2545)สมัครเข้าเป็นสมาชิกระบบการค้าแบบยุติธรรม หรือ แฟรด์เทรด(2547) โดยได้ทำสัญญาความร่วมมือด้านการส่งเสริมการตลาด กับบริษัท เอนเดนอินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด ปีพ.ศ.2546 และบริษัท อิสานอินเตอร์ไพร์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์สยามเกษตรอินทรีย์ จำกัด เมื่อปี 2548-ปัจจุบัน เป็นตัวแทนส่งออกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ที่ได้รับแหล่งผลิตตามมาตรฐานและได้ดำเนินการขยายเป็น
... ... ... ... ... ... ...


...

History PDF Documents File...!

Read more